อบรม เรื่อง "การพัฒนาเครือข่ายการดูแลสุขภาพช่องปากผู้มีความต้องการพิเศษ"

29 สิงหาคม 66 @ 08:00 น. - 30 สิงหาคม 66 @ 18:00 น.
โดย cedent kku
1063 ครั้ง
29 สิงหาคม 66 @ 08:00 น. - 30 สิงหาคม 66 @ 18:00 น.
โดย cedent kku
1063 ครั้ง

การประชุมวิชาการ > อบรม เรื่อง "การพัฒนาเครือข่ายการดูแลสุขภาพช่องปากผู้มีความต้องการพิเศษ"

***กรุณาสมัครสมาชิกก่อนลงทะเบียนงานประชุม***

ดำเนินการเพียงครั้งเดียวสามารถใช้ Login เข้าสู่ระบบในเว็บไซต์เพื่อลงทะเบียนได้ทุกงานประชุม

หัวข้อที่เปิดประชุม
  1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    เริ่ม 11 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ถึง 31 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ฟรี
  2. มหาวิทยาลัยมหิดล
    เริ่ม 11 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ถึง 31 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ฟรี
  3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    เริ่ม 11 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ถึง 31 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ฟรี
  4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    เริ่ม 11 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ถึง 31 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ฟรี
  5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    เริ่ม 11 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ถึง 31 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ฟรี
  6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
    เริ่ม 11 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ถึง 31 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ฟรี
  7. มหาวิทยาลัยนเรศวร
    เริ่ม 11 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ถึง 31 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ฟรี
  8. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    เริ่ม 11 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ถึง 31 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ฟรี
  9. โรงพยาบาลขอนแก่น
    เริ่ม 11 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ถึง 31 ก.ค. 66 @ 12:00 น.
    ฟรี
  10. มหาวิทยาลัยอื่นๆ
    เริ่ม 18 ส.ค. 66 @ 16:30 น.
    ถึง 18 ส.ค. 66 @ 16:30 น.
    ฟรี

โครงการ การพัฒนาเครือข่ายการดูแลสุขภาพช่องปากผู้มีความต้องการพิเศษ ปีงบประมาณ 2566

คณะกรรมการโครงการจัดตั้งศูนย์การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงวัยและผู้ป่วยพิเศษ

ระหว่างวันที่ 29 - 30 สิงหาคม 2566 ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

**ระบุต้นสังกัดให้ชัดเจน**


หลักการและเหตุผล

        โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดตั้ง “ศูนย์การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงวัยและผู้ที่มีความต้องการพิเศษ”(Geriatric and Special Needs Oral Health Center) มีภารกิจตามยุทธศาสตร์คณะในการให้บริการดูแลรักษาโรคช่องปาก จัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ ระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา และสนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีความต้องการพิเศษที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเปราะบางและมีภาวะพึ่งพิง และต้องการการดูแลทางทันตกรรมที่เป็นพิเศษ ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริหารศูนย์การดูแลฯ มีการดูแลผู้ป่วยเป็นลักษณะ transdisciplinary ที่ใช้ทักษะและหลักแนวคิดแบบใหม่ จึงต้องพัฒนากำลังคนโดยเร่งด่วนจากอาจารย์และทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ในรูปแบบ upskill เพื่อให้ทันต่อการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2567 ดังนั้น การสร้างเครือข่ายกับสถาบันในและต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์ในการจัดตั้งมาก่อน หรือสถาบันที่กำลังจัดตั้งและมีปัญหาที่คล้ายกัน จะทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาด้านการบริหารจัดการ

          สืบเนื่องจากการประชุมการสร้างเครือข่ายฯในพื้นที่ Southeast Asia ในงานประชุมนานาชาติ SEAADE 2022 ที่ Siem Reap, Cambodia ระหว่างวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ผู้แทนจากคณะฯ ได้หารือและวางแผนในการสร้างเครือข่ายกับ คณะทันตแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยหลายแห่ง รวมทั้ง International Association for Disability & Oral Health (iADH) โดย Dr.Gustavo F. MOLINA (Faculty of Dentistry, The University of Hong Kong; MOU) และ Dr. Siti Zaleha HAMZAH (Specialist Dental Clinic, Hospital Kajang Ministry of Health, Malaysia) จึงได้เกิดการรวมกลุ่มผู้ปฏิบัติงานบางส่วน

ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินงานการสร้างเครือข่ายในและต่างประเทศเป็นไปได้ด้วยดี และเพื่อเพิ่มทักษะและความชำนาญของทันตบุคลากรในคณะฯ โครงการจัดตั้งศูนย์การดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยสูงวัยและผู้มีความต้องการพิเศษ จึงวางแผนจัดกิจกรรมประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาเครือข่ายการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยบุคคลพิเศษ ปีงบประมาณ 2566 ระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2566 โดยมีวิทยากรจากสถาบันต่างประเทศ ได้แก่ Dr. Gustavo F. MOLINA, Dr. Siti Zaleha HAMZAH, Professor Agnes BLOCH-ZUPAN, U of Strasbourg; MOU; KKU visiting scholar2023) และ ร่วมกันหารือการพัฒนาเครือข่างระหว่างคณะทันตแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย

 

วัตถุประสงค์    

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายร่วมกันแบบสหวิทยาการ

2. เพื่อค้นหาข้อมูลจากผู้เข้าร่วมอบรมสาขาต่างๆ ในการบริหารจัดการคลินิกและการจัดกระบวนการเรียนรู้ ในคลินิกในหลักสูตรปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา

 

สถานที่จัดอบรม ห้องประชุม CE1 ชั้น 7 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

รูปแบบการจัดอบรม แบบออนไซต์ ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น    

 

กลุ่มเป้าหมาย   -    คณาอาจารย์และทันตแพทย์จากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 40 คน

-    วิทยากรและเจ้าหน้าที่ 10 คน

รวม 50 คน


ผู้รับผิดชอบโครงการ    ผศ.ดร.ปฏิมาพร พึ่งชาญชัยกุล และ ผศ.ดร. จันทร์ธิดา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม


ค่าลงทะเบียน ฟรี


เป้าหมาย/ตัวชี้วัดผลสำเร็จ

1. มีจำนวนอาจารย์และทันตแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง หรือ ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

2. ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจระดับดี

3. เกิดเครือข่ายพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ ระหว่าง รพ.ทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย