โครงการพัฒนานักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา : Research Camp 2023

16 สิงหาคม 66 @ 08:30 น. - 25 ธันวาคม 66 @ 16:30 น.
โดย cedent kku
667 ครั้ง
16 สิงหาคม 66 @ 08:30 น. - 25 ธันวาคม 66 @ 16:30 น.
โดย cedent kku
667 ครั้ง

การประชุมวิชาการ > โครงการพัฒนานักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา : Research Camp 2023

***กรุณาสมัครสมาชิกก่อนลงทะเบียนงานประชุม***

ดำเนินการเพียงครั้งเดียวสามารถใช้ Login เข้าสู่ระบบในเว็บไซต์เพื่อลงทะเบียนได้ทุกงานประชุม

หัวข้อที่เปิดประชุม
  1. On site (เฉพาะบุคลากร คณะทันตแพทย์ ม.ขอนแก่น)
    เริ่ม 1 ส.ค. 66 @ 08:30 น.
    ถึง 16 ส.ค. 66 @ 16:30 น.
    ฿ 1,000
  2. On line (รับ 15 ท่าน)
    เริ่ม 1 ส.ค. 66 @ 08:30 น.
    ถึง 16 ส.ค. 66 @ 16:30 น.
    ฿ 300

โครงการพัฒนานักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา : Research Camp 2023


หลักการและเหตุผล


วิจัยเป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อค้นหาคำตอบอย่างเป็นระบบ เป็นหนึ่งในกระบวนการฝึกฝนวิธีคิดอย่างเป็นเหตุผลในระบบการศึกษาทุกระดับ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับผิดชอบหลักสูตรหลายระดับ เช่น ระดับปริญญาตรี และระดับหลังปริญญา รวมไปถึงการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลด้วย ซึ่งทุกหลักสูตรมีการเรียนการสอนในหัวข้อการวิจัยด้วยทั้งสิ้น ในช่วงที่ผ่านมาการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและระเบียบวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ในหลักสูตรมักมุ่งเน้นในภาคทฤษฎีและยกตัวอย่างสถานการณ์ที่ยังไม่ใช่งานวิจัยของผู้เรียนโดยตรง รวมทั้งผู้เรียนยังไม่มีโอกาสได้เรียนรู้จากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัยควบคู่กับการศึกษาทฤษฎี แต่อย่างไรก็ตามหลายหลักสูตรโดยเฉพาะหลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ทันตแพทย์ประจำบ้านจะต้องทำผลงานวิจัยถึงขั้นตอนการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เพียงพอในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยในระดับที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ

โครงการพัฒนานักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา : Research Camp 2023 นี้ เป็นโครงการพัฒนานักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งแรกที่สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลได้จัดขึ้น โดยมีความมุ่งหมายที่จะปลูกฝัง และถ่ายทอดวิธีคิด

ขั้นตอน และการออกแบบงานวิจัยจากขั้นเริ่มต้นจนนำไปสู่การออกแบบโครงการวิจัยที่นำไปปฏิบัติได้จริง ผ่านหลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติโดยใช้เวลาต่อเนื่อง 5 เดือน โดยทันตแพทย์ที่ผ่านการอบรมในโครงการนี้จะสามารถนำโครงการวิจัยที่ได้นำไปต่อยอดพัฒนาเป็นงานวิจัยที่ถึงขั้นการตีพิมพ์ในผลงานวิชาการตามเป้าประสงค์ของหลักสูตรอย่างมีคุณภาพต่อไป

 

วัตถุประสงค์

         เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถออกแบบงานวิจัยที่ตนเองสนใจจนสามารถสร้างโครงร่างงานวิจัย (research proposal) และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

 

วิธีการดำเนินโครงการ

  1. บรรยายโดยวิทยากรทั้งระบบ onsite และ online ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. สัมมนาแบบร่วมกลุ่ม และสัมมนากลุ่มย่อย (เฉพาะระบบ onsite) ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ระยะเวลาการจัดโครงการ

       วันที่ 16 สิงหาคม – 25 ธันวาคม 2566


สถานที่

·      ห้องบรรยายคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


กลุ่มเป้าหมาย

·      ทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล มข.

·      นักศึกษาหลังปริญญาสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล มข.

·      ทันตแพทย์ที่สนใจ


ผู้รับผิดชอบโครงการ

         อ.นพ.ทพ.นิพนธ์ คล้ายอ่อน

          สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ประธานการฝึกอบรม และผู้ควบคุมหลักสูตรการฝึกอบรม

·      ศ.ทพญ.ดร.ศจี สัตยุตม์

สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ที่ปรึกษาโครงการ

·  รศ.ทพญ.เสาวลักษณ์ ลิ้มมณฑล  หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

วิทยากร

·      ศ.ทพญ.ดร.ศจี สัตยุตม์               (ประธานการฝึกอบรม และวิทยากรประจำหลักสูตรฝึกอบรม)

·      ผศ.ทพญ.ภัทรมน รัตนาพันธุ์          (วิทยากรหลักประจำหลักสูตรฝึกอบรม)

·      อ.นพ.ทพ.นิพนธ์ คล้ายอ่อน           (ผู้ช่วยวิทยากรประจำหลักสูตรฝึกอบรม)

·      รศ.ทพญ.อังคณา คลังทอง            (อาจารย์ที่ปรึกษา)

·      ผศ.นพ.ทพ.ดร.สุทิน จินาพรธรรม   (อาจารย์ที่ปรึกษา)

·      ผศ.ทพญ.สุภาพร คงสมบูรณ์         (อาจารย์ที่ปรึกษา)

·      อ.นพ.ทพ.ธีรัตต์ เจิ่งประภากร        (อาจารย์ที่ปรึกษา)

·      อ.นพ.ทพ.อมรเทพ มั่งมี               (อาจารย์ที่ปรึกษา)

·      อ.ทพ.อิทธิพร สุธีพิเชฐภัณฑ์         (อาจารย์ที่ปรึกษา)

·      อ.ทพญ.เพ็ญศิริ แสนทวีสุข           (อาจารย์ที่ปรึกษา)


อัตราค่าลงทะเบียนสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม

·      แบบ onsite/in person (15 คน)             1,000 บาท/คน

·      แบบ online (10 คน)  300 บาท/คน


การประเมินผล

·      ผลงานที่ได้ภายหลังการอบรม (โครงร่างงานวิจัย)

·      แบบสอบถาม


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.      ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ฟื้นฟูหลักการและแนวคิดของการทำงานวิจัย และการออกแบบงานวิจัย

2.      ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถกำหนดคำถามวิจัย และออกแบบงานวิจัยที่สอดคล้องกับคำถามวิจัยที่กำหนดได้อย่างเหมาะสมภาย


 

ผู้สนับสนุน

Sponsor