อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ง KKU Cleft and Craniofacial workshop for infant

16 มกราคม 67 @ 08:30 น. - 17 มกราคม 67 @ 16:30 น.
โดย cedent kku
887 ครั้ง
16 มกราคม 67 @ 08:30 น. - 17 มกราคม 67 @ 16:30 น.
โดย cedent kku
887 ครั้ง

การประชุมวิชาการ > อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ง KKU Cleft and Craniofacial workshop for infant

***กรุณาสมัครสมาชิกก่อนลงทะเบียนงานประชุม***

ดำเนินการเพียงครั้งเดียวสามารถใช้ Login เข้าสู่ระบบในเว็บไซต์เพื่อลงทะเบียนได้ทุกงานประชุม

หัวข้อที่เปิดประชุม
  1. ทันตแพทย์ทั่วไป
    เริ่ม 6 ธ.ค. 66 @ 08:30 น.
    ถึง 10 ม.ค. 67 @ 16:30 น.
    ฿ 12,000

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

(KKU Cleft and Craniofacial workshop for infant)

1.     หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยประมาณ 0.5-2 คนต่อทารกแรกเกิด 1,000 คนซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสถาบันการศึกษาจำนวนน้อยที่เปิดการศึกษาและฝึกอบรมการจัดการด้านทันตกรรมจัดฟันในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ จุดมุ่งหมายหลักของโครงการอบรมนี้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ทันตแพทย์ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศให้มีความรู้ความสามารถในการวินิจฉัย การวางแผนการรักษา และให้การดูแลรักษาผู้ป่วยได้ตั้งแต่แรกเกิดจนโต เพื่อให้ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มีสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

2.     วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัย วางแผนการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้พื้นฐานและความก้าวหน้าทางทันตกรรมจัดฟันสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

3. เพื่อให้ผู้อบรมสามารถสร้างเครื่องมือ KKU-NAM ได้

4. เพื่อให้ผู้อบรมสามารถ ดูแลทารกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ได้อย่างเหมาะสม

5. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจการทำงานแบบสหสาขาเพื่อการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่        

 

3.     วัน เวลา และสถานที่

วันที่ 16-17 มกราคม 2567

เวลา 08.30-16.30 น. ณ ห้องการศึกษาต่อเนื่อง 1 ชั้น 7 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


4.   รูปแบบการจัดโครงการ

ออนไซต์ บรรยายและปฏิบัติการ ณ ห้องการศึกษาต่อเนื่อง 1 ชั้น 7 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


5. ผู้เข้าร่วมประชุม

1. ทันตแพทย์ทั่วไปที่สนใจ จำนวน 16 คน

2. วิทยากร และ เจ้าหน้าที่ประสานงาน จำนวน 19 คน

    รวมทั้งสิ้น จำนวน 35 คน  


5. วิทยากร

- วิทยากรภายในจาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 5 คน

1. รศ.ดร.พูนศักดิ์ ภิเศก

2. รศ.ดร.ภิภพ สุทธิประภาภรณ์

3. ผศ.ดร. เอกสิทธิ์ มโนสุดประสิทธิ์

4. อ.ดร. พุทธธิดา วังศรีมงคล

5. อ.อมรรัตน์ มโนสุดประสิทธิ์

- วิทยากรภายนอกคณะ จำนวน 2 คน

1.รศ.พญ.สุชาอร แสงนิพันธ์กูล

2.นางสาวสุนทรี น้ำใจทหาร


6. ค่าลงทะเบียน  12,000. -บาท กรณีผู้เข้าร่วมอบรมชำระเงินแล้วไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอสงวนสิทธิ์การคืนเงินทุกกรณี


7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการในการใช้ KKU NAM

2.   ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการทารกที่มีภาวะปากแหว่เพดานโหว่

3.   ผู้เข้าร่วมประชุมมีทักษะและมีความมั่นใจในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้น

ผู้สนับสนุน

Sponsor