โครงการฝึกอบรม 4 เดือน สาขาปริทันตวิทยา เรื่อง FGG and CLP : One On One : We Can Do

1 กุมภาพันธ์ 67 @ 08:30 น. - 31 พฤษภาคม 67 @ 16:30 น.
โดย cedent kku
716 ครั้ง
1 กุมภาพันธ์ 67 @ 08:30 น. - 31 พฤษภาคม 67 @ 16:30 น.
โดย cedent kku
716 ครั้ง

การประชุมวิชาการ > โครงการฝึกอบรม 4 เดือน สาขาปริทันตวิทยา เรื่อง FGG and CLP : One On One : We Can Do

***กรุณาสมัครสมาชิกก่อนลงทะเบียนงานประชุม***

ดำเนินการเพียงครั้งเดียวสามารถใช้ Login เข้าสู่ระบบในเว็บไซต์เพื่อลงทะเบียนได้ทุกงานประชุม

หัวข้อที่เปิดประชุม
  1. ทันตแพทย์ทั่วไป
    เริ่ม 15 ม.ค. 67 @ 08:30 น.
    ถึง 30 ม.ค. 67 @ 16:30 น.
    ฿ 80,000

โครงการฝึกอบรม 4 เดือน สาขาปริทันตวิทยา

เรื่อง “FGG and CLP : One On One : We Can Do” ระหว่าง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ -31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 

                           ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการให้การรักษาทางทันตกรรมเป็นการทำงานร่วมกันในสหสาขา (Multidisciplinary) การทำศัลยกรรมปริทันต์เป็นหนึ่งในการรักษาที่มีความสำคัญในการเตรียมฟันและเนื้อเยื่อรอบฟันให้เหมาะสมกับการบูรณะฟันต่อ อาทิเช่น การทำศัลยกรรมเพิ่มความสูงตัวฟัน การทำศัลยกรรมปลูกเหงือก โดยการทำศัลยกรรมเพิ่มความสูงตัวฟันมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความสูงของตัวฟันให้มีการยึดอยู่ที่ดีของครอบฟัน และทำให้ขอบของครอบฟันไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อปริทันต์ ส่วนการทำศัลยกรรมปลูกเหงือก มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณเหงือกยึดและเหงือกเคอราติน ซึ่งจะทำให้ให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมคราบจุลินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้มีเนื้อเยื่อรอบฟันและเนื้อเยื่อรอบรากฟันเทียมที่มีสุขภาพดี นอกจากนี้การทำศัลยกรรมปลูกเหงือกยังช่วยแก้ไขความวิการรอบๆ ฟันและรากฟันเทียม เช่น การเพิ่มความหนาของเหงือกเพื่อลดการสะท้อนของขอบครอบฟัน การปลูกเหงือกเพื่อแก้ไขปัญหาเหงือกร่น เป็นต้น ดังนั้นทันตแพทย์จึงควรให้ความสำคัญกับการเตรียมและการคงสภาพเหงือกที่ดีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการให้การรักษาและเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคปริทันต์และโรครอบรากฟันเทียม


วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้เกี่ยวกับงานศัลยกรรมเพิ่มความสูงฟันและศัลยกรรมปลูกเหงือก

2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะทางคลินิกในงานศัลยกรรมเพิ่มความสูงฟันและศัลยกรรมปลูกเหงือก

 

ระยะเวลาการจัดโครงการ

ระยะเวลา 4 เดือน (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม พ.ศ. 2567)

 

รายชื่อวิทยากร

1. รศ.ดร.แสงโสม ประจะเนย์

2. รศ.วราภรณ์ สุวรรณรงค์

3. รศ.ดร.ดุษฎี หอมดี

4. อ.กมลชนก ตั้งวานิชกพงษ์

5. ทพ.ธนภัทร ศรีโพนทอง

6. ทพญ.กมลชนก กมลนฤเมธ

 

ผู้เข้าร่วมอบรม

1. ทันตแพทย์ จำนวน 12 คน

2. วิทยากรและเจ้าหน้าที่ประสานงาน จำนวน         13 คน

   รวม จำนวน        25 คน


สถานที่

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

กิจกรรมในโครงการ

1.     การสัมมนา (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567)

-  Soft tissue augmentation for creating keratinized mucosa(Free gingival graft; FGG)

-  Crown lengthening procedure

-  Case discussion

 

2. การฝึกปฏิบัติการ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567) 

ฝึกปฏิบัติการศัลยกรรมปริทันต์ในขากรรไกรหมูงาน Crown lengthening procedure และ Free gingival graft

3. การสังเกตการณ์และเป็นผู้ช่วยข้างเก้าอี้  (มีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2567) 

ช่วยข้างเก้าอี้ในการทำศัลยกรรมปริทันต์งาน Crown lengthening procedure และ Free gingival graft

4. ฝึกปฏิบัติการคลินิกในการทำศัลยกรรมปริทันต์ (เมษายน -31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567) 

การทำศัลยกรรมปริทันต์งาน Crown lengthening procedure และ Free gingival graft

 

หมายเหตุ วันและเวลาในกิจกรรมต่างๆ ในโครงการอาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้

 

 ค่าลงทะเบียน 80,000.- บาท


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้และความเข้าใจในงานศัลยกรรมเพิ่มความสูงฟันและงานศัลยกรรมปลูกเหงือก

2. ผู้เข้าร่วมการอบรมมีทักษะทางคลินิกในงานศัลยกรรมเพิ่มความสูงฟันและงานศัลยกรรมปลูกเหงือก

 

ดัชนีชี้วัด

1. มีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมอย่างน้อยร้อยละ 80 ของเป้าหมาย (10 คน)

2. ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80

3. ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความพึงพอใจใน ระดับดี-ดีมาก อย่างน้อยร้อยละ 80

 

การประเมินผลโครงการ

1. ประเมินผลจากแบบสอบถามที่ตอบโดยผู้เข้าร่วมอบรม ประเมินความพึงพอใจ รวมถึงข้อเสนอแนะ เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป

 

 

ผู้สนับสนุน

Sponsor