บรรยายวิชาการพิเศษ "Surgical Management of Obstructive Sleep Apnea (OSA)"

22 เมษายน 67 @ 08:30 น. - 22 เมษายน 67 @ 16:30 น.
โดย cedent kku
913 ครั้ง
22 เมษายน 67 @ 08:30 น. - 22 เมษายน 67 @ 16:30 น.
โดย cedent kku
913 ครั้ง

การประชุมวิชาการ > บรรยายวิชาการพิเศษ "Surgical Management of Obstructive Sleep Apnea (OSA)"

***กรุณาสมัครสมาชิกก่อนลงทะเบียนงานประชุม***

ดำเนินการเพียงครั้งเดียวสามารถใช้ Login เข้าสู่ระบบในเว็บไซต์เพื่อลงทะเบียนได้ทุกงานประชุม

หัวข้อที่เปิดประชุม
  1. เข้าร่วมในรูปแบบออนไลน์
    เริ่ม 22 เม.ย. 67 @ 08:30 น.
    ถึง 22 เม.ย. 67 @ 16:30 น.
    ฿ 200
  2. เข้าร่วมในรูปแบบออนไซต์
    เริ่ม 22 เม.ย. 67 @ 08:30 น.
    ถึง 22 เม.ย. 67 @ 16:30 น.
    ฿ 1,000

โครงการบรรยายวิชาการพิเศษความก้าวหน้าทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

เรื่อง “Surgical Management of Obstructive Sleep Apnea (OSA)”

 

หลักการและเหตุผล

         ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งจากระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) หรือปัจจัยทางกายวิภาคทั้งเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน หรือกระดูกขากรรไกร จะเห็นได้ว่าหากทันตแพทย์ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลทำการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรโดยไม่ได้คำนึงถึงภาวะนี้ อาจจะทำให้ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่ผู้ป่วยเป็นอยู่แย่ลงไปได้

         บทบาทของทันตแพทย์กับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนั้นสามารถมีส่วนร่วมได้ตั้งแต่การประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นและส่งปรึกษาหรือตรวจเพิ่มเติมในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจจะมีภาวะนี้ การทำอุปกรณ์เฝือกสบฟันใส่ขณะนอนหลับ หรือแม้กระทั้งทำการผ่าตัดขากรรไกรเพื่อการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

         ภายหลังการประชุมวิชาการในครั้งนี้ทันตแพทย์ที่เข้าร่วมการประชุมจะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผู้ป่วย การตรวจ และการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับมากขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ดูแลผู้ป่วยให้เกิดประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุด รวมไปถึงสามารถพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้รับความรู้ที่ทันสมัยในการจัดการภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย การจัดการเบื้องต้นและการผ่าตัดเกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการตรวจประเมินให้การรักษาผู้ป่วยรวมไปถึงพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญ


ผู้รับผิดชอบโครงการ

         คณาจารย์และบุคลากรสาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

 

กลุ่มเป้าหมาย

         ทันตแพทย์ทั่วไป จำนวน 50 คน

วิทยากร

         ศ.ทพ.สมศักดิ์ สิทธิถาวรวงศ์ (วิทยากรภายนอก)

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. ทันตแพทย์ทั่วไป (กลุ่มเป้าหมาย)                                        

  • แบบออนไซต์                                                       30 คน
  • แบบออนไลน์                                                        20 คน

รวม                                                                 50 คน

2. วิทยาการภายนอก                                                        1 คน

3. ผู้ประสานงาน                                                            11 คน

รวมทั้งสิ้น      62 คน


วันและเวลาดำเนินการสถานที่ดำเนินโครงการ

  • วันจัดประชุม : วันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2567
  • เวลาจัดประชุม : 9.00 – 16.00 น.
  • รวมเวลาดำเนินโครงการ 1 วัน ณ ห้องประชุมการศึกษาต่อเนื่อง 1 (CE1) ชั้น 7 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

สถานที่ดำเนินโครงการ

         ห้องประชุมการศึกษาต่อเนื่อง 1 (CE1) ชั้น 7 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


รูปแบบการดำเนินโครงการ

  • แบบแบบออนไซต์ บรรยาย ณ ห้องประชุมการศึกษาต่อเนื่อง 1 ชั้น 7 คณะทันตแพทยศาสตร์
  • แบบออนไลน์ ถ่ายทอดการบรรยาย ด้วยระบบ Zoom meeting


งบประมาณ


  1. ค่าลงทะเบียนแบบออนไซต์ รับจำนวน 30 คนๆละ 1,000 บาท    
  2. ค่าลงทะเบียนแบบออนไลน์ รับจำนวน 20 คนๆละ 200 บาท