โครงการอบรมระยะสั้น ประจำปี 2567 (สาขาความเจ็บปวดใบหน้าช่องปากและทันตนิทราเวช)
1 มิถุนายน 67 @ 08:30 น. - 31 สิงหาคม 67 @ 16:30 น.
โดย cedent kku
1034 ครั้ง
1 มิถุนายน 67 @ 08:30 น. - 31 สิงหาคม 67 @ 16:30 น.
โดย cedent kku
1034 ครั้ง
การประชุมวิชาการ > โครงการอบรมระยะสั้น ประจำปี 2567 (สาขาความเจ็บปวดใบหน้าช่องปากและทันตนิทราเวช)
***กรุณาสมัครสมาชิกก่อนลงทะเบียนงานประชุม***
ดำเนินการเพียงครั้งเดียวสามารถใช้ Login เข้าสู่ระบบในเว็บไซต์เพื่อลงทะเบียนได้ทุกงานประชุม
หัวข้อที่เปิดประชุม
-
ทันตแพทย์ทั่วไปเริ่ม 1 พ.ค. 67 @ 08:30 น.ถึง 31 พ.ค. 67 @ 16:30 น.
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
โครงการอบรมระยะสั้น ประจำปี 2567
สาขาความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าและทันตนิทราเวช
(Orofacial Pain and Dental Sleep Medicine)
แขนงวิชาชีววิทยาช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1. ชื่อโครงการ : โครงการอบรมระยะสั้น ประจำปี 2567 (ความเจ็บปวดช่องปากใบหน้าและทันตนิทราเวช)
2. หลักการและเหตุผล
ด้วยจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และจากรายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยปี 2553- 2583 ประมาณว่า ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นภาคที่มีอัตราผู้สูงอายุสูงสุดในประเทศคือร้อยละ 22 และร้อยละ 20 ตามลำดับและในปี 2565 ประเทศไทยทั้งหมดจะเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ หรือหมายถึงสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 20 ก่อนที่ในปี 2576 ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด หรือมีสัดส่วนประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สูงขึ้นถึงร้อยละ 28 การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุนี้ ทำให้ทันตแพทย์มีโอกาสได้ตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคปวดเรื้อรังที่ช่องปากใบหน้า ได้เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดข้อต่อขากรรไกรจากโรคข้อต่อขากรรไกรสึก หรือ เสื่อมร่วมกับการมีการสบฟันที่เปลี่ยนไป ปวดเส้นประสาทที่บริเวณใบหน้าและช่องปาก โรคแสบร้อนในช่องปากเรื้อรัง ซึ่งพบได้มากเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ และยังเป็นโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับประทานยาตลอดชีวิต ส่งผลกระทบในด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้สูงอายุ ยังพบความชุกของโรคการกรน และ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea :OSA) ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งความชุกของโรคในประชากรไทย พบได้ที่ร้อยละ 15.4 ในเพศชายและร้อยละ 6.3 ในเพศหญิงตามลำดับ ซึ่งการรักษาที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบันได้แก่ การใส่เครื่องมือในช่องปากเพื่อยื่นขากรรไกรล่างมาทางด้านหน้า (mandibular advancement device: MAD) ซึ่งทำให้ทันตแพทย์ มีบทบาทที่สำคัญในทีมสหสาขาวิชาที่ร่วมรักษาผู้ป่วย OSA
3. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคปวดเรื้อรังที่ช่องปากใบหน้าที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เช่น trigeminal neuralgia, burning mouth syndrome, TMJ osteoarthritis เป็นต้น
2. เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มโรคความผิดปกติที่เกิดจากการหลับที่พบบ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนอนกัดฟัน การกรน และ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถวินิจฉัยดูแล และจัดการรอยโรคปวดเรื้อรังที่ช่องปากใบหน้าการนอนกัดฟัน การกรน และ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ได้
4. ผู้รับผิดชอบโครงการ
แขนงวิชาชีววิทยาช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. วัน เวลา และสถานที่ดำเนินการ
ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2567 ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6. ค่าลงทะเบียน: ท่านละ 40,000. - บาท
7. รายชื่อวิทยากร
- ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์
- ศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิง ศจี สัตยุตม์
- รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์ ฑีฆายุ พลางกูร จอร์นส
- รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์ จรินทร์ ปภังกรกิจ
- รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิง อาริยา รัตนทองคำ (วิทยากรภายนอก)
- รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง เพ็ญศรี โพธิภักดี
- รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง จินตนา สัตยาสัย (วิทยากรภายนอก)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิง สุพรรณิการ์ เรืองศรี
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.ทพ.สุทิน จินาพรธรรม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยอดชาย บุญประกอบ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุภวรรณ เลาหศิริวงศ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาต โซ่เงิน
- อาจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิงสวิตา คิ้มสุขศรี
- นางษมาภรณ์ นาใจดี
- นางชนาธิป อันตรี
- นางยมนา วงศ์นาค
- นางสาวจรรยารัตน์ ศรีประวัติ
- นางสาวลลิตตา ธนโชติหิรัญ
8. กลุ่มเป้าหมาย
- ทันตแพทย์ จำนวน 5 คน
- วิทยากร คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ จำนวน 18 คน
รวมทั้งสิ้น 23 คน
9. รูปแบบการจัด
จัดฝึกอบรมรูปแบบในสถานที่ ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
9.1 การบรรยายและการสัมมนาบทความปัจจุบัน
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้ฟังการบรรยายและมีการสัมมนาบทความปัจจุบันในหัวข้อต่าง ๆ ที่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วยโรคปวดเรื้อรังที่ช่องปากใบหน้า โรคการกรน นอนกัดฟันและ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เช่น
- Review of muscles of mastication, occlusion, cranial nerves and head/neck anatomy
- Review of common orofacial pain conditions in the elderly and management
- Review of snoring and OSA and management
- Review of bruxism and management
- Comprehensive assessment of chronic orofacial pain and OSA patients
- Psychosocial assessment of elderly chronic pain patients
- Comprehensive individualistic treatment plan
- Oral appliances for bruxism and orofacial pain patients (including digital dentistry)
- Oral appliances for OSA patient (including digital dentistry)
- Pharmacotherapy for Pain
- Botulinum toxin therapy for bruxism and pain
- Acupuncture and dry needling
- Laser therapy for pain
- Psychotherapy including cognitive behavioral therapy (CBT)
- Complementary and alternative therapy for pain
- Surgical intervention for orofacial pain and OSA
- Communication skills and doctor-patient relationship
9.2 การปฏิบัติงานคลินิก Orofacial Pain and Dental Sleep Medicine คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
10.2.1 การให้การรักษาผู้ป่วยโรคปวดเรื้อรังที่ช่องปากใบหน้า
- การตรวจ วินิจฉัย พยากรณ์โรคและการวางแผนการรักษาแบบเฉพาะบุคล
- การให้การรักษาโดยการใช้ยา, oral appliance, ฝังเข็ม, botulinum toxin, psychotherapy
และอื่น ๆ
- การประเมินผลการรักษา
- การนำเสนอแผนและผลการรักษา
- การสังเกตการณ์การรักษาในคลินิก orofacial pain และในห้องผ่าตัดสมอง
10.2.2 การให้การรักษาผู้ป่วยโรคการกรน นอนกัดฟันและ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
- การวางแผนการรักษาแบบเฉพาะบุคคล
- การให้การรักษาโดยใช้ oral appliance (MAD)
- การประเมินผลการรักษา
- การนำเสนอแผนและผลการรักษา
- การสังเกตการณ์การรักษาในคลินิก sleep medicine
10. วิธีดำเนินการ
- จัดทำและขออนุมัติโครงการ
- ประชาสัมพันธ์
- จัดเตรียมสื่อ/สื่อสอนออนไลน์ประกอบการสอน อบรมและบรรยาย
11. งบประมาณ
รายรับ
ค่าลงทะเบียน (40,000 x 5 คน) = 200,000.- บาท
รวม = 200,000.- บาท
12. การประเมินผลโครงการ
- ประเมินผลจากแบบสอบถามที่ตอบโดยผู้เข้าร่วมอบรม ประเมินความพึงพอใจ รวมถึงข้อเสนอแนะ เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงในครั้งต่อไป
- ประเมินผลจากผู้บังคับบัญชาขั้นต้น ภายหลังจากที่สำเร็จการอบรมและข้าปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลต้นสังกัด
13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ทันตแพทย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคปวดเรื้อรังที่ช่องปากใบหน้าที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ รวมถึงการนอนกัดฟัน การกรน และ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
- ทันตแพทย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านอบรมสามารถวินิจฉัยดูแล และจัดการโรคปวดเรื้อรังที่ช่องปากใบหน้าที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ รวมถึงการนอนกัดฟัน การกรน และ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นและสามารถทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อจัดการผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวแบบองค์รวมได้