โครงการบรรยายวิชาการ เรื่อง Bone Management Series for Dental Implants

24 กุมภาพันธ์ 68 @ 08:30 น. - 25 มีนาคม 68 @ 18:00 น.
โดย cedent kku
746 ครั้ง
24 กุมภาพันธ์ 68 @ 08:30 น. - 25 มีนาคม 68 @ 18:00 น.
โดย cedent kku
746 ครั้ง

การประชุมวิชาการ > โครงการบรรยายวิชาการ เรื่อง Bone Management Series for Dental Implants

***กรุณาสมัครสมาชิกก่อนลงทะเบียนงานประชุม***

ดำเนินการเพียงครั้งเดียวสามารถใช้ Login เข้าสู่ระบบในเว็บไซต์เพื่อลงทะเบียนได้ทุกงานประชุม

หัวข้อที่เปิดประชุม
  1. โครงการบรรยายวิชาการ เรื่อง Bone Management Series for Dental Implants (บรรยาย + workshop)
    ทันตแพทย์ทั่วไป
    เริ่ม 24 ก.พ. 68 @ 08:30 น.
    ถึง 25 มี.ค. 68 @ 18:00 น.
    ฿ 45,000
  2. โครงการบรรยายวิชาการ เรื่อง Bone Management Series for Dental Implants (บรรยาย + สังเกตการณ์)
    ทันตแพทย์ทั่วไป
    เริ่ม 24 ก.พ. 68 @ 08:30 น.
    ถึง 25 มี.ค. 68 @ 18:00 น.
    ฿ 10,000

โครงการบรรยายวิชาการ เรื่อง Bone Management Series for Dental Implants

ปีงบประมาณ 2568 สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


1.     หลักการและเหตุผล

ปัญหาหลักของสภาวะสุขภาพช่องปากโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ คือ การสูญเสียฟันและมีฟันใช้งานน้อยจนต้องใส่ฟันเทียม ซึ่งในปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติไป และต้องการใส่ฟันทดแทนที่แข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้เหมือนฟันปกติ แต่หนึ่งในเงื่อนไขสำคัญในการทำรากฟันเทียม คือ ต้องมีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีกระดูกเพียงพอสำหรับการใส่รากฟันเทียม การปลูกกระดูกทดแทนจึงมักเป็นวิธีการรักษาร่วมกับการใส่รากฟันเทียม ซึ่งการผ่าตัดปลูกกระดูกสามารถพิจารณาทำก่อนการใส่รากฟันเทียมหรือผ่าตัดร่วมกับการใส่รากฟันเทียมหรือจะทำการผ่าตัดเพิ่มเติมหลังการใส่รากฟันเทียมไปแล้ว โดยการผ่าตัดปลูกกระดูกทดแทนมีเทคนิคในการปลูกกระดูกหลายวิธี อาทิเช่น ridge preservation, guided bone regeneration, sinus lift, ridge splitting เป็นต้น รวมทั้งเทคโนโลยีในปัจจุบันชนิดของกระดูกที่ใช้ในการปลูกกระดูกทดแทนมีหลายชนิดให้พิจารณาเลือกใช้ในการผ่าตัดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการจัดการผ่าตัดปลูกกระดูกและการเลือกชนิดกระดูกอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการรักษา

บทบาทของทันตแพทย์กับการปลูกกระดูกทดแทนนั้นสามารถทำได้ตั้งแต่การประเมินผู้ป่วยเบื้องต้น แนะนำแนวทางการรักษา และส่งปรึกษาหรือแม้กระทั่งทำการผ่าตัดปลูกกระดูกทดแทนเพื่อเตรียมสำหรับการใส่รากเทียม ภายหลังการบรรยายวิชาการในครั้งนี้ทันตแพทย์ที่เข้าร่วมการประชุมจะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผู้ป่วย การตรวจ และการรักษาผู้ป่วยที่มีสภาวะกระดูกไม่เพียงพอและเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการผ่าตัดปลูกกระดูกทดแทนมากขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ดูแลผู้ป่วยให้เกิดประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุด รวมไปถึงสามารถพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

2. วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้รับความรู้พื้นฐานที่ครบถ้วนในการผ่าตัดปลูกกระดูกทดแทนสำหรับใส่รากฟันเทียม
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการตรวจ ประเมินผู้ป่วยก่อนการรักษา การเตรียมผู้ป่วย  และเทคนิคในการผ่าตัดเกี่ยวกับปลูกกระดูกทดแทนสำหรับใส่รากฟันเทียม
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนให้การรักษาผู้ป่วย รวมไปถึงพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญ


3. ผู้รับผิดชอบโครงการ

         คณาจารย์และบุคลากรสาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

4. กลุ่มเป้าหมาย

         ทันตแพทย์ทั่วไป จำนวนไม่เกิน 50 คน

5. วิทยากร (ภายใน)

         คณาจารย์สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

6. ผู้เข้าร่วมประชุม (กลุ่มเป้าหมาย)  

ทันตแพทย์ทั่วไป                                      

  • แบบออนไซต์บรรยายและ workshop                         20 คน
  • แบบออนไซต์บรรยายและสังเกตการณ์                       30 คน


7. วันและเวลาดำเนินการสถานที่ดำเนินโครงการ

  • วันจัดประชุม : วันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2568 และ วันที่ 24-25 มีนาคม 2568 (จัดประชุมเดือนละ 2 วัน)
  • เวลาจัดประชุม : 8.30 – 17.30 น.

        รวมเวลาดำเนินโครงการ 4 วัน ณ ห้อง M3 Science Park มหาวิทยาลัยขอนแก่น

8. สถานที่ดำเนินโครงการ

         ห้อง M3 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Park) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

9. รูปแบบการดำเนินโครงการ

  • แบบออนไซต์ บรรยาย, workshop และสังเกตการณ์ 


10. การประเมินผลโครงการ

         แบบสอบถามความคิดเห็น

 

11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความมั่นใจมากขึ้นในการให้การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกไม่เพียงพอสำหรับใส่รากฟันเทียม รวมไปถึงการรักษาเบื้องต้น และส่งต่อได้อย่างเหมาะสม
  2. ได้เผยแพร่ชื่อเสียงทางด้านวิชาการของสาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและกระดูกขากรรไกร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
  3. ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม ทำให้เกิดความรักและสามัคคีกันระหว่างบุคลากรในสาขาวิชาฯ